กีฬาเรือแคนู กำไม้พายให้แน่น แล้วเตรียมลุยไปบนกระแสน้ำจืด
กีฬาเรือแคนู เป็นกีฬาสไตล์ Extreme ทางน้ำ ซึ่งต้องใช้พละกำลัง ค่อนข้างมากเลย ไม่ว่าจะเป็นแขน กล้ามเนื้อส่วนแขน มือ และส่วนตัวครึ่งบนทั้งหมด เพื่อพายเรือผ่านกระแสน้ำ หรือทะเลกว้างใหญ่ ไปสู่จุดมุ่งหมาย ที่คุณต้องการให้ได้
และนั่นก็คือ ความเอกซ์ตรีมที่คุณต้องเจอ ไม่ว่าจะความหนัก ของกระแสน้ำเชี่ยวกราก การ พายเรือแคนู ต้านแรงก็ตาม เชื่อว่าสายเอกซ์ตรีม ได้ยินแค่นี้ก็รู้สึกตื่นเต้น อยากจะทำความรู้จัก แคนูให้มากขึ้นกว่านี้กัน! ไม่รอช้า แนะนำ กีฬาเอ็กซ์ตรีม เราไปกันเลย
กีฬาเรือแคนู กับเรื่องราวการแข่งขัน ในระดับโลก!
นอกจาก กีฬาเรือแคนู จะเป็นกีฬาเอกซ์ตรีมแล้ว ยังถูกบรรจุ เป็นกีฬาโอลิมปิก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1936 (ถึงตอนนี้ก็ผ่านมาประมาณ 80 ปีแล้ว) ทำให้กีฬาชนิดนี้ถูกสนใจ และถูกจับตามากขึ้น เป็นวงกว้างขึ้น ในปี ค.ศ. 1948 ได้เพิ่มการแข่งขัน สำหรับผู้หญิงขึ้นมาด้วย จากตอนแรกที่มีให้แข่งขัน เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และเปิดกว้างยิ่งขึ้นมาก ๆ
อีกอย่างประเภทหนึ่งของ กีฬาเรือพาย ภาษาอังกฤษ Rowing กีฬาที่มาควบคู่กัน ก็คือกีฬาเรือคายัค เป็นลักษณะการพายเรือเช่นกัน แต่แตกต่างกันใน . . เก็บไว้ก่อนดีกว่า ไว้ในหัวข้อถัดไป มาดูนักกีฬาเรือแคนู คนไทยแข่งขันระดับโลกกัน!
ต้องบอกเลยว่า เธอเป็นคนแรก ในประวัติศาสตร์โอลิมปิก! นักกีฬาทีมชาติไทย ประเภทสปรินท์ระยะ 200 เมตร เธอคืออรสา เที่ยงกระโทก นักกีฬาหญิงแกร่ง ฝีมือโหดมาก ๆ แต่ก่อนที่เธอจะมายืน ณ จุดนี้ได้ บอกเลยว่าความพยายาม ไม่เคยทำร้ายสักคนที่ตั้งใจ อย่างเพลงบอกไว้จริง ฮ่า ๆ
อรสา เที่ยงกระโทก ปัจจุบันวัยเพียง 23 ปี จุดเริ่มต้นก่อนหน้านั้น เธอไม่มีความรู้ ด้านกีฬาชนิดนี้เลย เป็นคนตัวเล็ก ไม่มีแรงแขน ในการถือไม้พายหนัก ๆ ด้วยซ้ำไป ซ้อม ๆ และซ้อมอย่างหนักหน่วง ทั้งวันทุกวันได้พักแค่วันเดียว ร้องไห้ไปหลายครั้งมาก จนได้รับการพิสูจน์ ว่าเธอทำได้จริง!
แม้จะไม่ใช่ตัวเต็ง ที่มีสปอตไลต์ส่องอยู่ แต่การที่ทำให้เธอ ได้ก้าวมาอยู่จุดนี้ เป็นเพราะอะไร ? มาหาคำตอบกัน
ชีวิตที่ไม่ได้ใกล้เคียง หรือเฉียดใกล้กับกีฬาเลย ที่บ้านของอรสา มีพ่อแม่และพี่น้อง 3 คน ที่บ้านไม่มีใครเล่นกีฬาเลย และตัวเธอเองก็ไม่ใช่คนที่ชอบ หรือสนใจกีฬาเลย เพราะกลัวร้อน กลัวเหงื่อออก กลัวเหนื่อย ซึ่งนี่ก็เป็นจุด ที่ไม่ได้ทำให้ดูว่า เธอจะมาเล่นกีฬา หรือแม้แต่กีฬาง่าย ๆ หรือแม้แต่บนบกเลย
แต่เธอก็บอกว่า ตัวเองเล่นได้ แต่ไปในเชิง วิ่งเล่นกับเพื่อนมากกว่า หรือไม่ก็เล่นกีฬา เฉพาะชั่วโมงพลศึกษา ชีวิตเรียบง่ายมาตลอด
แต่แล้วโชคชะตาก็วิ่งมาหาเธอ ในวัยที่เธออายุ 11 ปี มาได้รู้จักกีฬาพายเรือ เป็นครั้งแรกจนก้าวมาสู่ วงการกีฬานั่นเอง เธอเล่นพายเรือด้วยความสนุกกับเพื่อน ไม่ได้มีความรู้สึก ว่าจะต้องไปแข่งหรืออะไร เพียงความสนุกล้วน ๆ แต่ดันได้มีโอกาส เข้าไปถูกโค้ช ในวงการกีฬา กติกา เรือ แค นู
จนถูกเจียระไน ให้เป็นเพชรงาม จากร่างกายที่กลัวเหนื่อย กลัวร้อน ผอมไม่มีแรง ก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงช่วงเวลาแข่งขัน สิ่งที่ประทับใจที่สุด คือเธอสามารถเอาชนะใจตัวเอง และเอาชนะการแข่งขัน คว้าเหรียญการแข่งขันมาได้ ทั้งในซีเกมและสนามอื่น
มาต่อกันที่หัวข้อ กีฬาเรือแคนูแตกต่างจาก กีฬาพายเรือคายัค ยังไง ?
เคยสงสัยหรือสังเกตกันบ้างไหม ว่ากีฬาพายเรือ ที่ไม่ใช่เรือไทยอย่างบ้านเรา นั้นแบ่งแยกออกไป อีกอย่างเรือแคนู และเรือคายัค ก็แตกต่างกันอีก แม้จะเหมือนกันมากก็ตาม ฉะนั้นเราดูยังไงล่ะ ? เรามาดูอย่างละเอียดกัน
ด้านการใช้งาน
รู้ไหมว่า กีฬาเรือแคนู ภาษาอังกฤษ ที่เขาเรียกว่า Canoeing นั้นใช้พายในน้ำจืดมากกว่า เน้นเล่นเพื่อความสนุกสนาน บันเทิงกันในกลุ่มเพื่อน ครอบครัวมากกว่า ส่วนเรือคายัค นั้น จะเน้นพายในทะเล ด้วยความแข็งแรงของเรือ หากโดนลมพัด หรือคลื่นทะเลซัด ก็ไม่ได้ส่งผล ลอยไปไกลมากนัก ทำให้คนเที่ยวทะเล มักจะฮิตพายเรือชนิดนี้กัน นี่เป็นข้อแบ่งแยกประเภทแรก
ด้านวัสดุและอุปกรณ์
ประเภทของเรือแคนูนั้น ผลิตมาจากพลาสติก แต่บางลำก็ใช้โลหะ ส่วนเรือคายัค ที่ว่าแข็งแรงกว่า ใช้พลาสติกในการทำเช่นกัน แต่ใช้พลาสติกชนิดเดียว และยังต้องเป็นพลาสติก ที่ต้องแข็งแรง และทนทานมาก ๆ ทีเดียว ไม่งั้นคงไปลอย กลางทะเลไม่ได้แน่
ด้านลักษณะ
ขนาด เรือ แค นู นั้นไซซ์ใหญ่กว่า เรือคายัคเสียอีก ค่อนข้างมีลักษณะเป็นเรือเปิด ทำให้น้ำเข้าออกได้ง่าย ส่วนเรือคายัค จะตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง และมีความประณีต ในการสร้างมากกว่า เรือแคนูได้เกิดขึ้นมาก่อน จนได้พัฒนาเรือคายัค แบบที่นั่งได้ 3 คน มาทีหลังนั่นเอง
การพายเรือก็แตกต่างกัน
เนื่องจากประเภท Canoeing นั้นมีไม้พายใบมีดเดี่ยว ทำให้ วิธี การ เล่น กีฬา เรือ แค นู เวลาพาย ต้องพายสลับซ้าย – ขวา เพื่อให้ตรงไปข้างหน้าได้ ไม่อย่างนั้นเรือก็จะ วนเป็นวงกลม ไม่พุ่งไปข้างหน้า
ส่วนเรือคายัคนั้น จะใช้ไม้พายแบบคู่ คือเป็นไม้เดี่ยว แต่พายได้ 2 ข้างเลย ซึ่งเวลาที่พาย ก็จะต้องพายซ้ายขวาสลับกันไป เพื่อให้เรือพุ่งไปข้างหน้า
ความปลอดภัยก็สำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นหมวกกันน็อก เสื้อชูชีพ (สำคัญมาก) หากเป็นไปได้ มีนกหวีดติดไว้จะดีมาก! เพราะกีฬาทางน้ำ นอกจากสนุกแต่ต้องยอมรับ ว่ามีความเสี่ยงจริง ๆ หากเกิดอันตรายขึ้น อย่างน้อยอุปกรณ์พวกนี้ จะได้ช่วยชีวิตเราได้
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูล แนะนำ กีฬาเอ็กซ์ตรีม เกี่ยวกับกีฬาเรือแคนู และความแตกต่างของชนิดเรือ 2 รูปแบบ ใครที่สนใจอยากให้ลอง ไปเล่นกันดูนะ! นอกจากความท้าทาย ความตื่นเต้นจากกีฬา ให้ได้หลั่งสารอะดรีนาลีน ยังได้สุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรงอีกด้วยนะ และหากใครเบื่อกีฬาสไตล์ Extreme แล้ว ก็สามารถเปลี่ยนไปอ่าน รีวิว The Dark Knight จะได้เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง
ติดตามกีฬา เอ็กซ์ตรีมภาคเหนือ ตอบโจทย์คนไทยได้ที่นี่
เรียบเรียงโดย M.Varin